ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Pandom wangi - Pandanus palm [3]
Pandom wangi - Pandanus palm [3]
Pandanus amaryllifolius Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Pandanaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.
 
  ชื่อไทย เตยหอม, ใบเตย
 
  ชื่อท้องถิ่น - ซึปู่ลุ่(ม้ง), ใบเตย(ไทลื้อ) - หวานข้าวไหม้ (เหนือ), ปาแนะออริง (ใต้), ปาแนก๊อจี (ไทยมุสลิม),ปานหนัน (นราธิวาส-ปัตตานี), พั้งลั้ง (จีน) [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพืชใบลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีข้อปล้อง อยู่ใต้ดิน (rhizome) ส่วนที่โผล่ขึ้นมาอยู่เหนือดินนั้นเป็นก้านใบ (petiole) และใบ (leaf) สูงประมาณ 2 ฟุต
ใบ ออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อลำต้นเจริญเติบโตจะมีรากค้ำจุน (porp root) ช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนบิดเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เส้นกลางใบเว้าลึกแอ่ง ดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือม ใบมีกลิ่นหอม [3]
 
  ใบ ใบ ออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อลำต้นเจริญเติบโตจะมีรากค้ำจุน (porp root) ช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนบิดเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เส้นกลางใบเว้าลึกแอ่ง ดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือม ใบมีกลิ่นหอม [3]
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ตำแล้วบีบน้ำผสมข้าวหรือแป้งสำหรับทำขนมช่วยให้ มีกลิ่นหอม(ม้ง)
- ใบ สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- สรรพคุณความเชื่อ
ใบรสเย็น หอมหวาน มัน ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ต้นและรากเป็นยา ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ
คนไทยนิยมใช้ใบเตยสด แต่งสีเขียวในอาหารและแต่งกลิ่น เช่น แต่งสีในขนมขี้หนูลอดช่อง ซ่าหริ่ม วุ้น ขนมชั้น เป็นต้น ในอาหารคาวมีผู้ใช้ใบเตยหอมห่อไก่และนำไปอบให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทานหรือนำไปใช้แต่งกลิ่นข้าวมันให้มีกลิ่นหอมโดยใวช้ใบเตยล้างน้ำให้สะอาด ทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ เมื่อข้าวสุกเอาข้าวมันทับใบเตยไว้ ปิดฝาทิ้งไว้ให้ระอุ ข้าวมันจะกลิ่นหอมน่ารับประทาน [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง